ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด

17 มิ.ย. 2567 | เขียนโดย

ในช่วงวัยแรกเกิดของลูก ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องใส่ใจ ดูแล สังเกตทุกการเปลี่ยนแปลง และความผิดปกติของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและพัฒนาการต่างๆที่สมวัย ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดที่คุณพ่อ คุณแม่สามารถสังเกตได้เช่น



ถ่ายอุจจาระบ่อย 

  • ทารกอาจถ่ายได้มากกว่า 10 ครั้ง/วัน ขณะดูดนมแม่ บิดตัว และผายลม 
  • น้ำนมเหลืองที่ออกมาช่วง 5 วันแรกหลังเกิด จะมีคุณสมบัติย่อยง่ายและช่วยระบายท้อง
  • นมแม่ โดยเฉพาะส่วนบนมีส่วนผสมของแลคโตสซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ทำให้ถ่ายบ่อย แก้ไขโดยการให้กินนมหมดเต้า หรือบีบนมส่วนหน้าทิ้ง ให้กินเฉพาะส่วนหลัง
  • อุจจาระที่ปากติ จะต้องมีลักษณะเป็นแป้งเปียก สีเหลืองทอง ไม่มีมูกเลือด และไม่มีฟองปน 

ไม่ถ่ายอุุจจาระทุกวัน

  • ทารกปกติอาจถ่ายวันเว้นวัน ไปจนถึงสัปดาห์ละครั้ง หากได้รับนมผสมในปริมาณมาก
  • ทารกปกติ หากไม่ถ่ายทุกวัน ต้องไม่มีอาการท้องอืด หรืออาเจียน เป็นสีเขียวเหลือง ลักษณะอุจจาระ ควรนิ่มคล้ายแป้งเปียก ไม่แข็ง 
  • หากลักษณะอุจจาระแข็ง คล้ายลูกกระสุนหรือทารกต้องออกแรงเบ่ง และมีอาการท้องอืดร่วมด้วย ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น ลำไส้อุดตัน ขี้เทาเหนียวอุดลำไส้ ลำไส้ขาดเส่นประสาทส่วนไส้ตรง แร่ธาตผิดปกติ 

ทารกนอนมาก 

สาเหตุ

มาจากอาการเจ็บป่วย น้ำตาลต่ำ กินนมไม่พอ อุณหภูมิร่างกายต่ำ และทารกเกิดก่อนกำหนด

การรักษา

  1. หาสาเหตุ ที่ผิดปกติ เช่น ซึม ติดเชื้อ ต้องมาพบแพทย์
  2. ให้น้ำนมอย่างเพียงพอ โโยการปลุกทุก 2 – 3 ชั่วโมง กินให้อิ่ม เป็นมื้อๆ เพื่อสร้างวงจรการกินนมและการนอนหลับให้กับทารก
  3. กระตุ้นทารกด้วยการลูบบริเวณศีรษะและหลัง ใช้นิ้วเขี่ยฝ่าเท้า คลายผ้าที่ห่อตัวทารกออก

ทารกร้องกวน 

หาสาเหตุและแก้ไขตามความเหมาะสม 

  1. น้ำนมแม่ไม่พอ  หิวนม 
  2. น้ำนมแม่มีมากเกินไป ได้รับนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลเยอะ ทำให้ไม่สบายท้อง (Colic) มักมีอาการ  ท้องอืด ถ่ายเหลว ก้นแดงมีแผลที่ก้น ถ่ายเป็นมูกเลือด ผายลมบ่อย แหวะนม  

การแก้ไข  

ปั๊มนมส่วนหน้าทิ้งก่อน ปั๊มนมส่วนหน้าทิ้งก่อน บีบบริเวณลานนมขณะให้นมเพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ปั๊มนมไม่ต้องเกลี้ยงเต้า แค่พอให้หายคัด เพื่อให้ร่างกายลดการร้างน้ำนม ยกศีรษะสูง 30 องศาขณะให้นม 

  1. ผ้าอ้อมชื้นหรือแฉะหรือระคายเคียงผิวหนัง 
  2. ไฟสว่าง มีเสียงรบกวน 
  3. คัดจมูก หายใจไม่ออก

การแก้ไข 

ใช้น้ำเกลือหยอดจมูกและลูกยางแดงดูดน้ำมูก สำลีพันปลายเช็ดน้ำมูก เปลี่ยนท่า หรือจัดท่าไม่ให้คอพับจนกดทางเดินหายใจ 

แพ้โปรตีนในนมแม่ 

สามารถมีอาการได้ตั้งแต่วันแรกของชีวิต แต่มักพบในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังเกิด 

อาการ 

ปวดท้องร้องกวน ถ่ายเป็นมูกเลือด ก้นแดง มีผื่นรอบก้น มีผื่นผิวหนัง โดยอาการอื่นๆของทารกจะปกติ 

สาเหตุ 

พันธุกรรม คุณแม่มักมีประวัติทานผลิตภัณฑ์จากนมเยอะในช่วงตั้งครรภ์ 

การรักษา 

  1. ไม่มียารักษาเฉพาะ 
  2. คุณแม่งดอาหาร ทีละอย่าง อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์แล้วสังเกตุอาการทารก ซึ่งหากตอบสนองมักดีขึ้นภายใน 3-4 วัน 
  3. ตัวอย่างอาหารที่แพ้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่ ถั่ว แป้งสาลี ช็อคโกแลต 
  4. หากทารกตอบสนองต่อการรักษาสามารถให้นมแม่ต่อได้โดยงดอาหารที่แพ้ต่อนาน 2-4 สัปดาห์ 
  5. เมื่อคุณแม่งดอาหาร ครบ ให้คุณแม่ลองทานอาหารที่แพ้ใหม่ หากยังมีอาการให้งดต่อเนื่องงาน 6 เดือน 
  6. กรณีการแพ้รุนแรงจน ซีด โปรตีนในเลือดต่ำ การเจริญเติบโตไม่ดี อาจพิจารณาเปลี่ยนนมเป็นนม HA และส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง 

กรดไหลย้อน 

เป็นภาวะทางกายภาพที่ปกติในทารกแรกเกิด

สาเหตุ

แรงดันบริเวณหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารต่ำ ทำให้หูรูดหลวมในช่วงแรกเกิด ซึ่งจะค่อยๆแน่นขึ้นภายในอายุ 6 เดือน 

การรักษา

จัดท่าทางการนอนด้วยการตะแคง ลดปริมาณน้ำนมต่อมื้อ แต่ให้มื้อถี่มากขึ้น

อาการที่ต้องรักษาด้วยยา / ผ่าตัด  

อาเจียนมากจนน้ำหนักขึ้นน้อย ร้องกวนมาก ปฏิเสธอาหาร ตัวเขียว หยุดหายใจ 

สะดือแฉะ

การเช็ดสะดือ เช็ดภายนอกสะดือด้วย 70 % แอลกอฮอล์ และเช็ดภายในสะดือบริเวณซอก/รอยพับด้วยน้ำเกลือเช็ดทุกครั้งหลังอาบน้ำและเวลาเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะ โดยเช็ดทุกวันจนสะดือหลุด 

  • สะดือจะหลุดประมาณ 7-21 วัน 
  • หากสะดือหลุดแล้ว แต่ยังแฉะ หรือมีเนื้อแดงภายในสะดือ สามารถรักษาด้วยการใช้สารซิลเวอร์จี้ ภายหลังจี้บริเวณเนื้อแดงจะกลายเป็นสะเก็ดแห้งสีขาว หรือ อาจเป็นรอยไหม้สีดำ สามารถเช็ดสะดือได้ตามปกติและจะหลุดลอกไปเอง หากภายใน 1 สัปดาห์  หากสะดือยังแฉะ อาจต้องจี้สะดือซ้ำ 

อาการที่ต้องมาพบแพทย์ 

  • มีไข้ / ตัวเย็น
  • ซึม ตัวลาย ไม่ดูดนม หรือร้องกวนผิดปกติ
  • ท้องอืด ตึง ไม่ถ่ายอุจจาระ 
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด / เป็นฟอง 
  • อาเจียนมีสีเขียวปน 
  • ตัวเหลืองมาก อุจจาระซีด ปัสสาวะเข้ม
  • หายใจหอบเหนื่อย มีอกยก ซี่โครงบาน ตัวเขียว 
  • อาการที่มารดาหรือผู้เลี้ยงดู รู้สึกว่าผิดปกติไปจากเดิม 
SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ